วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิทยาการในโลกมุสลิม


ยินดีต้อนรับสู่นิทรรศการ "วิทยาการในโลกมุสลิม" ที่เปิดโอกาสให้คุณได้สำสวจเรื่องการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมในช่วง ยุคทองแห่งวิทยาศาสตร์ในโลกอิสลาม  ช่วงเวลาแห่งการปรับเปลี่ยน และสร้างสรรค์ ต่อยอดองค์ความรู้ จากหลากหลายวัฒนธรรมโบราณ แลกการวางรากฐานสู่ยุคฟื่นฟูศิลปวิทยาการ และการพัฒนาวิทยาการสมัยใหม่

  ในเมืองแห่งทะเลทราย  กว่าพันปีที่แล้ว ขณที่อารยธรรมยุโรปเริ่มเสื่อมสลายในช่วงยุคมืด อารยธรรมอิสลามเริ่มเรืองรอง นักวิทยาศาสร์อิสลามค้นพบหลักการของเครื่องบิน,นิยามทฤษฎีการมองเห็น,พัฒนาวิชาตรีโกณมิติ และคิดระบบตัวเลขี่พวกเราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งบุกเบิกวิธีทางเคมีเชิงปริมาณ ตลอดจนวิธีที่ทันสมัยในการวางผังเมือง และสถาปัตยกรรม

นาฬิกาช้างพลังงานของ อัล-ญะซารี (Al-Jazari) ที่มีกลไกบอกเวลาทุก 30 นาที

กลไกการทำงานของนาฬิกาช้างพลังงานของ อัล-ญะซารี ซึ่งในท้องช้างบรรจุน้ำและมีถ้วยเจาะรูลอยน้ำ (ภาพที่ 2) หุ่นปราชญ์มุสลิมจะหมุนไปเรื่อยๆ ทุกนาที (ภาพที่ 3 ซ้าย) ถ้วยค่อยๆ จมน้ำและดึงให้กลไกเริ่มต้นใหม่ (ภาพที่ 3 ขวา) เมื่อเวลาและกลไกผ่านไป 30 นาที หุ่นนกอินทรีจะปล่อยลูกแก้วใส่ปากมังกรที่จะพลิกตัวเพื่อหย่อนลูกแก้วใส่ถ้วยในท้องช้าง


                                อับบาส อิบนิ ฟิรนาส –นักบินคนแรก
      อับบาส อิบนิ ฟิรนาส (ค.ศ. 810-887หรือ พ.ศ.1353-1430) มุสลิมชาวอันดาลูเซียเป็นพหุสูต,นักประดิษฐ์,แพทย์,วิศวกร,และนักดนตรี ในปี ค.ศ. 880(พ.ศ.1423)
 อิบนิ ฟิรนาส  ได้สร้างเครื่องร่อนทำจากโครงไม้ไผ่ ผ้า และขนนกอินทรีย์เครื่องร่อนของ 
อิบนิ ฟิรนาส มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับปีกของนก และเครื่องบินที่เราใช้กันในปัจจุบัน


เราทดลองเหวี่ยงแขนตามแนวคลื่นที่เข้าใจถึงการการกระพือปีกของนกที่วนครบรอบเป็นรูปเลข 8

                                                           อิบนิ อัล-ไฮษัม


เดวิด ลินด์เบิร์ก นักประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์เคยบันทึกไว้ว่า: “ไม่ต้องสงสัยเลยว่าอัลฮาเซนคือบุคคลสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์แสงและสายตาตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงศตวรรษที่ 17” (อัลฮาเซนคือชื่อละตินของอิบนุอัล-ไฮษัมช่างเป็นข้อสังเกตที่น่าประทับใจและถูกต้องอย่างเหลือเกิน แต่มิใช่เพียงแค่นั้น อัล-ไฮษัมยังมีอิทธิพลต่อยุโรปทั้งด้านศาสนศาสตร์ วรรณกรรม ศิลปะ และวิทยาศาสตร์
แม้จะมีบันทึกว่าอิบนุอัล-ไฮษัมเขียนตำราไว้หลายร้อยเล่ม แต่ส่วนใหญ่ได้สูญหายไปแล้ว และทุกวันนี้เรารู้จักเขาก็จากผลงานทัศนศาสตร์เชิงเรขาคณิตดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ แต่ผลงานที่โดดเด่นที่สุดก็น่าจะได้แก่ กิตาบ อัล-มานาซีร (ตำราแสงและสายตา Book of Optics) ที่มี 7 หมวด ตีพิมพ์ช่วงปี 1028-38 ในตำราชุดนี้เองที่อัล-ไฮษัมมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์ยุโรปทั้งในยุคกลางและยุคเรอเนสซอง ในความคิดผมแล้ว บทบาทของอัล-ไฮษัมที่มีต่อการพัฒนาความคิดของโลกตะวันตกในช่วงนั้นไม่ต่างไปจากบทบาทของผู้นำความคิดในยุคเรอเนสซองอย่างจ็อตโตฟีลิปโป บรูเนลเลสกีไมเคิลแองเจโลและลีโอนาร์โด ดาวินชี



วงล้อภาพยนตร์


ให้เรามองที่จุดด้านว้ายมือ 10วินาที หลังจากนั้นมองที่จุดด้านขวามือ แล้วทายซิ ว่าใครเอ่ย?



นักสำรวจที่ยิ่งใหญ่ของชาวมุสลิม



เราอาจรู้จัก คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส” (Christopher Columbus) ในฐานะนักสำรวจคนสำคัญของโลกและผู้ค้นพบทวีปอเมริกา (ที่ชาวอินเดียแดงครอบครองอยู่ก่อน) แต่หลายคนอาจไม่เคยรู้ว่าในโลกของมุสลิมมีนักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ที่ชื่อ เจิ้งเหอ” (Zheng He) เขาคือขันทีในราชวงศ์หมิงของจีน แต่เขาได้พลิกชะตาตัวเป็นผู้นำสำรวจ โดยล่องเรือลำใหญ่กว่าเรือของโคลัมบัสถึง 4 เท่า ซึ่งใหญ่พอที่จะเลี้ยงม้า แพะและยีราฟได้ ซึ่งเขาได้เดินทางสำรวจโลกถึง 7 เที่ยว

       
นอกจากเจิ้งเหอแล้ว ยังมี อิบนิ บะฏูฏะห์ (Ibn Battuta) ชาวโมร็อกโก และนักสำรวจผู้ยิ่งใหญ่อีกคนของโลกมุสลิมในสมัยศตวรรษที่ 13 ที่เริ่มต้นเดินทางขณะมีอายุเพียง 21 ปี และได้จาริกแสวงบุญจากเมืองโมร็อกโก สู่นครมักกะห์ อีกทั้งยังได้เดินทางไปเยือนประเทศมุสลิมในยุคสมัยของเขาครบทุกประเทศ โดยใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 29 ปี รวมระยะทางกว่า 120,000 กิโลเมตร


เส้นทางล่องเรือของเจิ้งเหอ


ด้านคณิตศาสตร์


เลขอารบิกเป็นอีกองค์ความรู้จากโลกมุสลิมที่ถูกนำไปใช้จนเป็นสากล


อัล-ควาริศมี (ค.ศ.780-850)
เป็น “บิดาแห่งพีชคณิต” เขาเป็นทั้งนักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชื่อก้อง คอลีฟะฮ์อัล-มะอ์มูน (Al-Ma’Mun ค.ศ.786-833) เป็นผู้เรียกตัวเขาเข้าแบกแดด แล้วแต่งตั้งให้เป็นนักดาราศาสตร์แห่งราชสำนัก คำว่า “อัลจีบรา” (Algebra พีชคณิต) มาจากชื่อตำราคณิตศาสตร์เล่มโด่งดังของอัล-ควาริศมี ‘ฮิซาบ อัล-จับบัร วาอัล-มุฆบาลา’ (Hisab Al-Jabr Mugabalah หรือ Book of Calculations, Restoration, and Reduction) ตำราคณิตศาสตร์ฉบับแปลภาษาละตินของเขาเล่มนี้ถูกค้นพบในปีค.ศ.1857 ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ชื่อว่า ‘Algoritimi de Numero Indorum’ หน้าแรกของหนังสือเขียนว่า “อัลกอริธมีกล่าวว่า มวลการสรรเสริญเป็นของพระผู้เป็นเจ้า ผู้นำและพิทักษ์เรา” (Spoken has Algoritimi. Let us give deserved praise to God, our Leader, and Defender) ซึ่งคาดว่าในฉบับภาษาอาหรับอัล-ควาริศมีได้เริ่มหน้าแรกของหนังสือเพียงว่า “บิสมิลลาฮิรฺรอฮฺมานิรฺรอฮีม” แปลว่า “มวลการสรรเสริญเป็นของพระผู้เป็นเจ้า ผู้นำและพิทักษ์เรา” ซึ่งเป็นคำกล่าวของมุสลิมทุกคนเมื่อเริ่มต้นทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่เมื่อชาวคริสเตียนแปลหนังสือออกมา ย่อมต้องบอกว่าอัล-ควาริศมีเป็นผู้กล่าวคำสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าของชาวมุสลิม ไม่ใช่ตนเป็นคนกล่าว