วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

วิดิโอบรรยากาศภายในงาน


นิทรรศการวิทยาการโลกมุสลิมตอน2 1







นิทรรศการวิทยาการโลกมุสลิมตอน2 2



วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556


การแพทย์อิสลามต่อเรอเนสซองยุโรป



ช่วงสิ้นสุดศตวรรษที่ 15 ยุโรปตื่นตัวด้านความรู้, วัฒนธรรม, และวิทยาศาสตร์ไปทั่วทั้งทวีป จากนั้นเรอเนสซองหรือการฟื้นฟูศิลปวิทยาการก็ได้ก่อกำเนิดขึ้น

                 วิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นส่วนหนึ่งของแสวงหาทางปัญญาในช่วงนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากโรงเรียนแพทย์จำนวนมากมายที่ก่อตั้งขึ้นมาทั่วยุโรป

การแพทย์อิสลามมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการก่อตั้งและการพัฒนาของโรงเรียนแพทย์ในยุโรป โดยเฉพาะในโรงเรียนแพทย์แห่งแรกๆ เช่นที่ซาแลร์โน ด้านใต้ของอิตาลี และที่มองเปลิเอและปารีสในฝรั่งเศส
ช่วงยุคทองของศิลปวิทยาการอิสลามเมื่อ 1,000 ก่อนหน้านี้ ชาวอาหรับมิได้ทำแค่เพียงแปลตำรากรีกมาเท่านั้น พวกเขาสร้างแพทย์ชื่อดังจนเป็นตำนานของยุค, ตัวยารักษาอาการป่วยไข้ซึ่งในสมัยก่อนหน้านั้นยังไม่มีใครรู้จัก, และท้ายที่สุดคือโรงเรียนแพทย์ของพวกเขาซึ่งกลายเป็นแม่แบบของโรงเรียนแพทย์ในโลกตะวันตก 
ยุโรปได้ก่อตั้งโรงเรียนแพทย์แบบเดียวกับอาหรับขึ้นมา, จัดระเบียบองค์กรเหมือนกัน, และก็สอนหลักสูตรเดียวกัน
เราจะมาดูกันถึงการแพทย์อิสลามในศตวรรษที่ 10 จากนั้นก็เป็นบทบาทของการแพทย์อิสลามต่อการแพทย์ยุโรปในช่วงการตื่นตัวทางปัญญาของยุโรปและต่อมาด้วยยุคเรอเนสซอง
ย้อนหลังไปไกลถึงศตวรรษที่ 10 วงการแพทย์อิสลามประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ
1.องค์กรทางการแพทย์แบบใหม่
2.แพทย์ศาสตร์หรือเวชกรรมแบบใหม่
3.เภสัชตำรับแบบใหม่
1. องค์กรทางการแพทย์
องค์กรทางการแพทย์ของอิสลามต่างจากของกรีกโบราณ เพราะองค์กรทางการแพทย์อิสลามประกอบด้วย โรงเรียนแพทย์ซึ่งสอนทฤษฎี, ‘ห้องสมุดที่ล้นหลามไปด้วยหนังสือสาขาต่างๆ, และ โรงพยาบาลให้นักเรียนได้ฝึกฝนรักษาคนไข้โดยตรงและจำแนกแยกแยะอาการของโรค
ตัวอย่างของโรงพยาบาลที่เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนแพทย์ได้แก่ โรงพยาบาลแบกแดด (อิรัก), โรงพยาบาลเรย์, โรงพยาบาลอิบนุ ตูลูน (อียิปต์)
นอกจากนี้แล้ว องค์กรนี้ยังวางเขื่อนไขให้นักเรียนที่ต้องการศึกษาวิชาแพทย์ศาสตร์ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการที่มีประธานคณะกรรมการเป็นนักวิทยาศาสตร์ คณะกรรมการชุดนี้ยังมีอำนาจถอนใบอนุญาตของแพทย์รายนั้นได้หากพิจารณาแล้วเห็นว่าแพทย์คนนั้นมีความรู้ไม่เพียงพอ
2. แพทย์ศาสตร์หรือเวชกรรมแผนใหม่
การแพทย์แผนใหม่ของมุสลิมมีพื้นฐานบนการสังเกต ซึ่งคล้ายคลึงกับแพทย์สมัยโบราณ แต่การแพทย์อิสลามได้พัฒนาให้จำแนกแยกแยะลักษณะอาการของโรคเป็นหลายๆ ประเภท ซึ่งระบบนี้ทำให้แพทย์สามารถอธิบายอาการป่วยแบบใหม่ๆ ได้หลายอย่างเช่น โรคไข้ทรพิษ (ฝีดาษ) ที่อธิบายโดย ราเซส (Rhases หรือ อัล-ราซี Al-Rasi ค.ศ.865-925) และ อวิเซนนา (Avicenna หรือ อิบนุซินา Ibn Sina ค.ศ.980-1037), โรคหัด, เยื่อหุ้มปอดอักเสบ, และอื่นๆ 
ตำราชุด Continen ของราเซสประกอบด้วยหนังสือถึง 70 เล่ม ได้รวบรวมความรู้ด้านการแพทย์ในสมัยศตวรรษที่ 10 ไว้ทั้งหมด ส่วนตำรา อัล-กอนูน’ (Qanun หรือ Canon of Medicine) ของอวิเซนนานั้นเขียนด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ครอบคลุมการแพทย์ทุกสาขา และได้กลายมาเป็น ไบเบิลของวงการแพทย์ของโลกยุคกลาง อัล-กอนูนใช้เป็นตำราแพทย์ในมหาวิทยาลัยแพทย์ยุโรปจนถึงปี 1650 อวิเซนนาได้รับสมญานามว่า เจ้าชายแห่งวงการแพทย์
3. เภสัชตำรับแผนใหม่
ชาวอาหรับพัฒนาสารหรือยาที่ใช้ในการรักษาโรคยุคแรกๆ พวกเขาจัดระบบยาและกฎของศาสตร์ด้านนี้ เราสามารถดูได้จากหนังสือ Nichajat ar Rutba ที่เขียนขึ้นในปี 1236 ส่วนฉบับสำเนาที่คัดลอกในศตวรรษที่ 15 ยังถูกเก็บรักษาไว้ที่กรุงซาราเยโว ประเทศบอสเนีย สิ่งเหล่านี้ทำให้การแพทย์อิสลามขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว และตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 แล้วที่ชื่อต่อไปนี้ถูกจารึกไว้ในวงการแพทย์ ทั้ง ราเซส ในอิหร่าน, อัล-มากูดี (Al-Macoudy) และอาลีอิบนุ อับบาส อัล-มาจูซี (Ali ibn Abbas al-Majusi เสียชีวิตค.ศ.982-994) ในอิรัก, อิบนุ อัล-จัซซาร์ (Ibn al-Jazzar ค.ศ.855-955) ในตูนีเซีย, และ อัลบูคาซิส’ (Albucasis หรือ อัล-ซาฮ์ราวี Al-Zahrawi ค.ศ.936-1013) ในสเปน
ยุโรปได้ประโยชน์จากพัฒนาการในวงการแพทย์อิสลามเพราะมีชาวยุโรปจำนวนมากเข้าศึกษาในโรงเรียนอิสลามและโดยเฉพาะที่เมืองกอร์โดบา อาณาจักรมุสลิมสเปน เฉพาะที่มีชื่อเสียงได้แก่ เกอร์เบิร์ตแห่งออริแลค (Gerbert of Aurillac ค.ศ.946-1003 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นโป๊ปซิลเวสเตอร์ที่ 2), เจอราดแห่งครีโมนา (Gerard of Cremona ค.ศ.1114-87), Arnaldus de Villanueva (ค.ศ.1235-1311), คอนสแตนติน ดิอาฟริกัน (Constantine the African หรือ Constantinus Africanus ค.ศ.1020-87), และอื่นๆ
โรงเรียนแพทย์แห่งแรกๆ ในยุโรปเป็นที่รู้จักกันก็เพราะตำราแพทย์อิสลาม ได้แก่ โรงเรียนแพทย์ซาแลร์โนในอิตาลี, มองเปลิเอและปารีสในฝรั่งเศส


หัวใจแห่งการเข้าใจ

นักปราชญ์ในยุคคลาสสิคสร้างทฤษฎีมากมายเกี่ยวกับการทำงานของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าที่ของหัวใจในการสูบฉีดโลฮิตไปเลี้ยงทั่วร่างกาย



กาเลน แพทย์ชาวกรีก สังเกตว่า หัวใจของมนุษย์แบ่งเป็นสองห้อง และเชื่อว่าโลหิตไหลจากห้องขวาไปยังห้องซ้าย โดยซึมผ่านรูเล็กๆ ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น

การสันนิษฐานที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการไหลของโลหิตผ่านหัวใจ


อิบนิ อัล-นาฟิส




อิบน์ อัล-นาฟิส
แพทย์ชาวอาหรับนามว่า อิบน์ อัล-นาฟิส (Ibn al-Nafis, ค.ศ. 1210 - ค.ศ. 1288) เป็นหนึ่งในคนแรกๆ ที่เสนอการชำแหละร่างกายมนุษย์และการชันสูตรศพ และในปี ค.ศ. 1242 เขาเป็นคนแรกที่อธิบายระบบการไหลเวียนปอด (pulmonary circulation)  และระบบไหลเวียนโคโรนารี (coronary circulation) ซึ่งเป็นพื้นฐานของความรู้เรื่องระบบไหลเวียนโลหิต เขาจึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งทฤษฎีการไหลเวียน                  อิบน์ อัล-นาฟิสยังเป็นผู้ที่อธิบายความคิดแรกเริ่มของเมแทบอลิซึมและได้พัฒนาระบบการศึกษากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาขึ้นมาแทนที่ลัทธิของอวิเซนนาและกาเลน ด้วยการล้มล้างความเชื่อที่ผิดๆ เกี่ยวกับทฤษฎี humorism, การคลำชีพจร, กระดูกกล้ามเนื้อลำไส้, อวัยวะรับความรู้สึก, ท่อน้ำดี,หลอดอาหารกระเพาะอาหาร, และกายวิภาคของร่างกายมนุษย์แทบทุกส่วน


แผนภาพอธิบายระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกาย  ของ อิบนิ อัล นาฟิส










วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

ด้านการแพทย์อิสลาม

ด้านการแพทย์อิสลาม


กล่าวได้ว่าเป็นการค้นพบที่มีค่าและยิ่งใหญ่ที่สุดของนักวิทยาศาสตร์ชาวมุสลิม คือการค้นพบเกี่ยวกับการบำบัดรักษาโรค  ในช่วงยุคกลางวงการแพทย์มุสลิมรุ่งเรืองอย่างมาก แพทย์เป็นผู้นำในการและวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ   ขณะที่ความรู้ทางศัลยกรรม และนวัตกรรมค้านเครื่องมือทางการแพทย์ ก้าวหน้าอย่างไม่มีใครเทียบได้ในเวลานั้น




อิบนุ ซีนา หรือที่ชาวยุโรปเรียกันว่า เอวิเซ็นนา(Avicenna) เป็นนักวิทยาศาสตร์มุสลิมคนหนึ่ง ที่เกิดในปี ค.ศ.980 ในดินแดนทางตะวันอกเฉียงเหนือของอาณาจักรอับบาสิด (อุสเบกิสถานปัจจุบัน) บิดาของเขาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดท้องถิ่นแห่งหนึ่งของเปอร์เซีย และเป็นนักวิชาการมีเกียรติ อิบนุซีนาจึงพูดภาษาเปอร์เซียเช่นเดียวกับผู้มีการศึกษาในส่วนอื่นๆ ของโลก เขาเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาดมาก สามารถจดจำอัล-กุรอานได้ทั้งเล่มเมื่ออายุได้เพียงเจ็ดขวบ ทั้งที่ภาษาอาหรับไม่ใช่ภาษาของเขา ในขณะที่ยังเป็นเด็กอยู่นั้น เขาได้เรียนรู้ระบบการนับเลขแบบอินเดียจากครูที่เป็นนักเดินทาง เมื่ออิบนุซีนาอายุสิบแปดปี เขาประสบความสำเร็จในการเป็นหมอที่รักษาผู้ป่วยให้หายได้จำนวนมาก
อิบนุซีนากลายเป็นหมอที่มีชื่อเสียงมากจนกระทั่งสุลต่านนูฮฺ อิบนฺ มันซูรฺ แห่งบุคอรอได้มาหาเขาเพื่อให้ช่วยรักษาอาหารป่วย เมื่ออิบนุซีนาสามารถรักษาอาการป่วยของสุลต่านผู้นั้นได้ สุลต่านจึงให้เขาทำงานเป็นแพทย์ประจำพระองค์ ซึ่งขณะนั้นอิบนุซีนามีอายุแค่ 18 ปีเท่านั้น เมื่อได้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของสุลต่านแล้ว อิบนุซีนาก็ได้อ่านหนังสือหายากหลายเล่มจากในห้องสมุดของสุลต่าน
อิบนุซีนามีแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ หลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น เมื่ออายุได้ยี่สิบปี อิบนุซีนาเป็นบุคคลแรกที่ "แรงกระตุ้นเป็นสัดส่วนของอัตราความเร็ว" นี่คือสมการพื้นฐานที่อธิบายแรงผลักดันในทุกวันนี้ เขายังอ้างเหตุผลด้วยว่า วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ในสุญญากาศนั้นยังคงเคลื่อนที่ไปโดยไม่ชะลอความเร็วลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้องอีกเช่นกัน อิบนุซีนายังได้กล่าวไว้อีกว่า นักวิทยาศาสนาจะไม่มีทางประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนโลหะอย่างตะกั่ว หรือทองแดง ให้กลายเป็นทองได้ ถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์หลายคนจะพยายามทดลอง

ตำราทางการแพทย์ของอิบนุซีนาตั้งแต่ ค.ศ. 1000 เป็นต้นมา






อิบนุซีนายังได้เขียนตำราทางการแพทย์เป็นภาษาอาหรับไว้ด้วยเช่นกัน ซึ่งแพทย์ได้ใช้กันทั่วอาณาจักรอับบาสิด และเมื่อตำรานี้ถูกแปลเป็นภาษาละติน ก็ได้ถูกนำมาใช้ไปทั่วทั้งยุโรปเช่นกัน ตลอดช่วงสมัยของยุคกลาง อิบนุซีนายังอาจจะเป็นบุคคลแรกที่ได้รู้ว่า คนเราสามารถติดเชื้อโรคต่างๆ จากคนด้วยกัน เช่นโรคหัด ไข้ทรพิษ หรือวัณโรค ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีใครรู้จักเชื้อโรคเลย เพราะยังไม่มีกล้องจุลทรรศน์
เมื่อสุลต่านสิ้นพระชนม์ลง รัชทายาทชื่อ อะลี อิบนฺ ชามส์ อัล-เดาลา ได้ขอให้อิบนุซีนาดำรงตำแหน่งเป็นแพทย์ประจำพระองค์ต่อไป แต่เขาตกลงที่จะเข้าร่วมกับกองกำลังของโอรสของสุลต่านอีกคนหนึ่ง คือ อะลา อัล-เดาลา และจึงต้องหลบซ่อนตัว ในระหว่างช่วงเวลานี้เอง เขาได้เขียนตำราเกี่ยวกับหลักปราชญาที่สำคัญเล่มหนึ่ง คือ "กิตาบุล-ชีฟา" (หนังสือเรื่องการเยียวยา) ครอบคลุมในเรื่องที่เกี่ยวกับวิชาตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ไปจนถึงเรื่องกายภาพหรือฟิสิกส์และชีวิตหลังความตาย ในขณะที่กำลังเขียนเรื่องเกี่ยวกับวิชาตรรกศาสตร์นั้น อิบนุซีนาถูกจับกุมไปคุมขัง แต่เขาหนีรอดไปได้และปลอมตัวเป็นซูฟีไปยังอิสฟาฮานเพื่อสมทบกับอะลา อัล-เดาลา





ในระหว่างนั้นเขาได้เขียนหนังสืออีกหลายเล่มเช่น กิตาบุล นาญาต, อัล-มันติก และ อัล-อิสฮารอต วะ อิตันบิฮาต เป็นหนังสือเกี่ยวศาสนาและหลักตรรกศาสตร์ นอกจากนี้งานเขียนของเขายังรวมไปถึงหนังสือเกี่ยวกับเรื่องดาราศาสตร์, การแพทย์, ภาษาสาสตร์ และสัตวศาสตร์ด้วย อิบนุซีนายังเป็นนักกวีที่เขียนกวีได้อย่างไพเราะเช่นหนังสือ ฮัยย์ อิบนฺ ยักซัน  อิบนุซีนายังทำงานเกี่ยวกับปรัชญาและการแพทย์ตลอดจนเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองเรื่อยมาจนกระทั่งเขาเสียชีวิต